หน้าหลัก / Showcase / ผลงานคณาจารย์และนิสิตที่ได้รับรางวัล
ผลงานคณาจารย์และนิสิตที่ได้รับรางวัล

30/04/2019
อมิตา ศุจิพิศุทธิ์ 2562: การรับรู้ของผู้ปกครองถึงผลเสียจากการใช้ Mobile Device ของ เด็กอายุ 2-5

อมิตา ศุจิพิศุทธิ์ 2562: การรับรู้ของผู้ปกครองถึงผลเสียจากการใช้ Mobile Device ของ

เด็กอายุ 2-5 ปี ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และสารสนเทศ) สาขาวิชา

นิเทศศาสตร์และสารสนเทศ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้าอิสระหลัก: ผู้ช่วยศาสตราจารยพ์ รทิพย์ เย็นจะบก, ปร.ด.

104 หน้า

การวิจัยครั้งนี้เเป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยและ

ลักษณะการเลี้ยงดูลูกของผู้ปกครองที่ส่งผลต่อการใช้ Mobile Device ของเด็กอายุ 2-5 ปี (2) การ

รับรู้ของผู้ปกครองถึงผลเสียจากการใช้ Mobile Device ของเด็กอายุ 2-5  ปี กลุ่มตัวอย่าง คือ

ผู้ปกครองที่ให้ Mobile Device เด็กเล่น อายุระหว่าง 2-5 ปี จำนวน 400 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ใน

การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลีย ส่วน

เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยแบบ T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์

สหสัมพันธ์โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะทาง

ประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน จะมีการรับรู้ของผู้ปกครองถึงผลเสียจากการใช้ Mobile Device ของ

เด็กอายุ 2-5 ปีแตกต่างกัน (2) ลักษณะการเลี้ยงดูของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ของ

ผู้ปกครองถึงผลเสียจากการใช้ Mobile Device ของเด็กอายุ 2-5 ปี และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ

เล่น Smartphone ก่อนวัยอันควรมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ของผู้ปกครองถึงผลเสีจยากการใช้

Mobile Device ของเด็กอายุ 2-5 ปี ดังนั้น ผู้ปกครองและครอบครัวสามารถใช้ข้อมูลพื้นฐาน ในการ

สอดส่องดูแลและหาแนวทางป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตประจำวันที่เด็กเล่น

Mobile Device อายุ 2-5 ปี ให้เกิดการประสิทธิผลสูงสุดสำหรับเด็กเล็ก

อมิตา ศุจิพิศุทธิ์ 2562: การรับรู้ของผู้ปกครองถึงผลเสียจากการใช้ Mobile Device ของ เด็กอายุ 2-5

 ดาวน์โหลดเอกสาร

อมิตา ศุจิพิศุทธิ 2562

กลับหน้าหลัก