หน้าหลัก / Showcase / ผลงานคณาจารย์และนิสิตที่ได้รับรางวัล
ผลงานคณาจารย์และนิสิตที่ได้รับรางวัล

19/05/2018
ปิยนุช รักสัตย์ 2561: กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ในงานคุมประพฤติ

ปิยนุช รักสัตย์ 2561: กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ในงานคุมประพฤติ

ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และสารสนเทศ)

สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้าอิสระ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรทิพย์ เย็นจะบก, วท.ด. 96 หน้า

การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ในงานคุมประพฤติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อกาหนด กลยุทธ์การสื่อสาร รวมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ในงานคุมประพฤติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับต้น และผู้ปฏิบัติงาน ผู้สื่อข่าวประจากระทรวงยุติธรรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ผลการวิจัยพบว่า

กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม กาลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่มีคนรู้จักองค์กร การรับรู้งาน

คุมประพฤติของประชาชนยังอยู่ในระดับต่า จึงต้องกาหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารขององค์กร เพื่อให้ผู้รับสารรับรู้ในงานคุมประพฤติ และเข้ามามีส่วนร่วม การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้จึงต้องดึงกลยุทธ์ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ โดยการเลือกใช้สื่อบุคคล อย่างอาสาสมัครคุมประพฤติ และพนักงานคุมประพฤติ สื่อ Social Media เช่น Facebook Line และสื่อกระแสหลัก เช่น โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ วิทยุ และภาพยนตร์สั้น รวมทั้งการจัดกิจกรรมพิเศษ

ปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสารคือ ขาดการทางานเชิงระบบ ขาดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยความไม่ชานาญในการนาเสนอ เหตุเพราะงานคุมประพฤติเสมือนเป็นนามธรรม จับต้องได้ยาก อย่างไรก็ตาม งบประมาณก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เพราะขาดแคลนอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ มาสนับสนุนการทางาน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงนโยบายของผู้บริหาร ทัศนคติของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานไม่ตรงกัน การทางานที่ล่าช้าไม่ทันต่อสถานการณ์ ขาดความต่อเนื่อง และยังไม่ตอบโจทย์กับประชาชน

ปิยนุช รักสัตย์ 2561: กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ในงานคุมประพฤติ

กลับหน้าหลัก